หน้าหลัก

ความเป็นมาของโครงการ

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง จัดเป็นโครงข่ายที่สำคัญและมีศักยภาพในการช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรและการขนส่งที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการขยายตัวของชุมชนเพิ่มขึ้นในลักษณะกระจายตัวขนานไปกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ดังนั้นผลกระทบของเสียงดังจากการจราจรอาจเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองได้ อย่างไรก็ตามจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พบว่าระดับเสียงที่ตรวจวัดบนสายทางดังกล่าวมีค่าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานระดับเสียง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แต่จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนและชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณสองข้างทางของโครงการ ยังคงพบว่าได้รับผลกระทบเสียงดังจากยานพาหนะที่วิ่งสัญจรอยู่บนแนวเส้นโครงการ

จากปัญหาผลกระทบดังกล่าว กรมทางหลวงจึงได้พิจารณาดำเนินโครงการศึกษามลภาวะเสียงและกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการมาตรการกำแพงกันเสียงและจัดทำแบบเชิงหลักการ (Conceptual Design) ของการติดตั้งกำแพงกันเสียงบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และจัดทำแบบรายละเอียด (Detailed Design) กำแพงกันเสียงสำหรับบริเวณพื้นที่อ่อนไหว เพื่อเป็นโครงการนำร่องอย่างน้อย 3 พื้นที่ รวมไปถึงการพัฒนาเครื่องมือในการคัดเลือกรูปแบบกำแพงกันเสียงและช่วยในการออกแบบเชิงหลักการ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การแก้ไขปัญหาเสียงจราจรได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการพัฒนาทางหลวง รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกรมทางหลวงที่มีต่อประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางหลวงอย่างยั่งยืน

line02


 วัตถุประสงค์ของโครงการ

ในการดำเนินโครงการศึกษาและออกแบบระบบกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ศรีนครินทร์ – พัทยา) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ดังนี้

  1. เพื่อดำเนินการศึกษามลภาวะเสียงจากการจราจรบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ประกอบกับข้อมูลระดับเสียงและข้อมูลจราจร
  2. เพื่อประเมินระดับเสียงปัจจุบัน ณ พื้นที่อ่อนไหวบริเวณแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 เปรียบเทียบกับระดับเสียงที่เหมาะสมซึ่งกำหนดขึ้นโดยกรมทางหลวง
  3. เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการมาตรการกำแพงกันเสียงบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7
  4. เพื่อออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) กำแพงกันเสียง ตามแผนปฏิบัติการมาตรการกำแพง
    กันเสียงบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7
  5. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อโครงการ และได้รูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7
  6. เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการคัดเลือกรูปแบบและออกแบบเชิงหลักการของกำแพงกันเสียงสำหรับกรณีต่างๆ

line02


 แนวคิดการศึกษา

ในการศึกษาจะเริ่มจากการวิเคราะห์มลภาวะเสียงบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วง ศรีนครินทร์-พัทยา ในปัจจุบัน โดยตรวจวัดระดับเสียงที่บริเวณพื้นที่อ่อนไหวตามแนวเส้นทางของโครงการ ได้แก่ โรงเรียน ศาสนสถาน สถานพยาบาล ตลอดจนชุมชนต่าง ๆที่ตั้งอยู่ในระยะ 100 เมตร จากแนวเขตทาง เพื่อเปรียบเทียบกับระดับเสียงที่แนะนำ โดยการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าเป็นระดับเสียงที่ไม่ส่งผลกระทบหรือรบกวนวิถีชีวิตและการทำกิจกรรม ณ พื้นที่อ่อนไหวประเภทต่าง ๆ จากนั้นจะใช้แบบจำลองเสียงเพื่อคำนวณรูปแบบกำแพงกันเสียงที่เหมาะสมทั้งประเภทและขนาด เพื่อลดระดับมลภาวะเสียงลงถึงระดับเป้าหมาย นกจากนี้ยังคาดการณืถึงระดับมลภาวะเสียงในอนาคตที่สูงขึ้นตามปริมาณการจรจรที่มากขึ้น เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของกำแพงกันเสียงในอนาคตอีกด้วย

line02


ตัวอย่างผลการศึกษา

โครงการศึกษามลภาวะเสียงและกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9



line02